การซื้อตั๋วรถไฟฟ้า

วิธีการซื้อตั๋วเวลาจะขึ้นรถไฟฟ้ามี 3 วิธีดังนี้
1) ซื้อจากเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับทางเข้าช่องตรวจตั๋ว
2) ซื้อที่สำนักงานจำหน่ายตั๋ว JR “มิโดริ โนะ มาโดะกุจิ” หรือ “วิวพลาซ่า”
3) ซื้อเป็นบัตร Suica หรือบัตร Pasmo

นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติยังมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาพื้นฐานไว้คอยรองรับการใช้งานของชาวต่างชาติด้วย นอกจากนี้เครื่องที่รองรับภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน และภาษาเกาหลี เป็นต้น ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีเครื่องที่รองรับภาษาไทยได้ สำหรับวิธีการใช้เครื่องผมได้อธิบายไว้ในเนื้อหาวิธีการซื้อครับ

โครงข่ายสายรถไฟฟ้าในโตเกียวมีซับซ้อนมากครับ หากนั่งรถไฟฟ้าจนเคยชินแล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่คุ้นหากต้องดูราคาในตารางบอกราคาอาจจะเสียเวลามากครับ กรณีนี้ควรตรวจสอบแผนผังทางเดินรถไฟ โดยสังเกตจากจุดที่ตัวเราอยู่ ณ. ตอนนี้ ซึ่งจะเขียนว่า当駅 (You are here) ไว้ด้วยอักษรสีแดงครับ จากนั้นตรวจสอบว่าเราต้องนั่งรถสายใดและไปต่อรถที่สถานีใด

นอกจากนี้ กรณีที่หาสถานที่ที่เราจะไปไม่เจอในแผนผังเส้นทางเดินรถ ควรสอบถามและซื้อตั๋วกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจำหน่ายตั๋ว JR “มิโดริ โนะ มาโดะกุจิ” หรือ “วิวพลาซ่า” โดยตรงจะดีกว่าครับ นอกจากบริการขายตั๋วรถด่วน และสำรองที่นั่งล่วงหน้า สำหรับรถไฟสายต่างๆ ของ JR แล้ว เคาท์เตอร์ของสำนักงานจำหน่ายตั๋วเหล่านี้ยังมีบริการขายตั๋วอื่นๆ เช่น ตั๋วเครื่องบินภายในประเทศ, ตั๋วเรือ, ตั๋วรถบัสระหว่างจังหวัด, และบัตรผ่านประตูของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อย่างหอศิลป์อีกด้วนนะครับ

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าวิธีที่ 3) ซื้อเป็นบัตร Suica หรือบัตร Pasmo เป็นวิธีที่ง่ายและอยากแนะนำมากที่สุดครับ

กรณีซื้อที่เราใช้บัตร Suica / Pasmo ค่าโดยสารทั้งหมดจะถูกคำนวณจากสถานีที่เราลงรถไฟโดยอัตโนมัติ จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสอบราคาค่าโดยสารทุกครั้งที่จะขึ้นรถไฟฟ้าเลย บัตรทั้ง 2 นี้สามารถหาซื้อได้จากเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติและสำนักงานจำหน่ายตั๋ว JR “มิโดริ โนะ มาโดะกุจิ” ครับ

โดยหลักแล้วจะเหมือนกับบัตรโดยสารรถ BTS คือเป็นบัตรพลาสติกแข็ง สามารถใช้ขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ทั้งหมดในโตเกียวได้, ใช้ขึ้นรถแท็กซี่ได้สำหรับบางบริษัท, ใช้กับเครื่องขายน้ำอัตโนมัติ, และสามารถใช้ซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อได้ บัตรนี้สะดวกมากครับ หมดปัญหาเรื่องเศษเหรียญในกระเป๋าเยอะเกินไป หรือปัญหาซื้อตั๋วผิดทำให้ค่าโดยสารไม่พอไปได้เลย ลองใช้กันดูนะครับ (ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบัตร Suica / Pasmo ได้ที่นี่)

 

วิธีใช้เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ

วิธีใช้เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ

(1) ตรวจสอบราคาค่าโดยสารจากจุดที่เราอยู่ไปถึงสถานที่ที่เราจะไปจากตารางค่าโดยสารหรือแผนผังเส้นทางเดินรถที่ติดอยู่บนผนังเหนือเครื่องขายตั๋ว

(2) เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติจะเป็นหน้าจอแบบสัมผัส หลังจากที่ใส่เงินค่าโดยสารเข้าไปตามราคาค่าโดยสารที่กำหนดแล้ว กดปุ่มที่ตรงกับราคาค่าโดยสารของเราบนหน้าจอ หรืออาจจะกดปุ่มราคาค่าโดยสารก่อนแล้วจึงใส่เงินตามเข้าไปทีหลังก็ได้ครับ

(3) เมื่อซื้อเรียบร้อยก็เข้าไปที่ทางเข้าช่องตรวจตั๋วได้เลย อย่าลืมรับบัตรและเงินทอนจากเครื่องด้วยนะครับ

 

 

เครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ

เครื่องตรวจตั๋วของญี่ปุ่นเป็นระบบไม้กั้นจากด้านหน้า ไม้กั้นจะอยู่ที่หน้าเครื่อง ดังนั้นถึงแม้จะถูกเครื่องกั้นไม่ให้ผ่านก็ไม่มีปัญหาเรื่องการชนกับคนอื่นจนเจ็บตัวครับ

เครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ

(1) วิธีการเหมือนกับเวลานั่งรถ BTS เลยครับ คือสอดตั๋วที่เราซื้อมาแล้วเข้าไปในเครื่องตรวจตั๋ว หลังจากที่เราผ่านเครื่องตรวจมาแล้ว ตั๋วของเราจะถูกส่งกลับออกมาจากช่องที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของเครื่องตรวจนะครับ อย่าลืมเก็บตั๋วของเราเอาไว้ด้วย

(2) เมื่อถึงสถานีที่เราต้องการ และออกมากจากสถานี เครื่องตรวจตั๋วจะเก็บตั๋วของเราไปเลยครับ

แต่หากเรานั่งรถมาไกลเกินกว่าราคาของตั๋วที่เราซื้อเอาไว้ เมื่อเราสอดบัตรเข้าเครื่องตรวจจะมีเสียงร้องเตือนและประตูเครื่องตรวจจะไม่เปิดให้เราออกไปครับ

กรณีนี้ให้รับตั๋วที่ถูกส่งกลับออกมา แล้วไปจ่ายเงินค่าโดยสารส่วนที่ไม่พอซึ่งเรานั่งรถเกินมา พอจ่ายแล้วจะมีตั๋วอีกใบหนึ่งออกมาให้เราเพื่อแสดงว่าเราได้จ่ายส่วนต่างที่ไม่พอเรียบร้อยแล้ว จากนั้นใช้ตั๋วใบใหม่นี้สอดเครื่องตรวจก็จะสามารถออกมาจากสถานีได้ครับ

หากไม่ทราบวิธีการจ่ายเงินส่วนต่าง สามารถสอบถามที่เคาท์เตอร์ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเครื่องตรวจตั๋ว สามารถจ่ายเงินส่วนต่างกับเจ้าหน้าที่สถานีและผ่านออกมาได้ครับ

เส้นทางรถไฟของโตเกียว

แผนผังแสดงเส้นทางรถไฟข้างบนนี้เป็นเครือข่ายเส้นทางเดินรถของรถไฟ JR และรถไฟในสังกัดของบริษัทเอกชนต่างๆ ซึ่งถึงแม้จะเป็นคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในโตเกียวเป็นเวลานานหลายปีแล้วก็ตาม ก็ไม่สามารถจำเส้นทางทั้งหมดนี้ได้หรอกนะครับ ถ้าเป็นเส้นทางที่เดินทางเป็นประจำอย่างเช่น เส้นทางที่เดินทางไป-กลับจากบ้านไปโรงเรียนหรือบริษัทที่ทำงานอยู่ก็คงไม่มีปัญหาเรื่องการต่อรถเพราะเคยชินอยู่แล้ว แต่สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาโตเกียวเป็นครั้งแรกก็ยากลำบากเอาการทีเดียวครับ ผมจึงจะขออธิบายเส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอยู่ซึ่งคิดว่านักท่องเที่ยวทุกท่านน่าจะต้องใช้เดินทางกันบ่อยๆ อย่างรถไฟ JR สาย Yamanote Line เป็นหลักนะครับ

เคล็ดลับการเดินทางในโตเกียว ก็คือการจดจำเส้นทางของรถไฟ JR สาย Yamanote Line ซึ่งจะวิ่งวนเป็นวงกลมรอบเมืองอย่างที่จะกล่าวในลำดับต่อไปนั่นเองครับ ถึงแม้เส้นทางรถไฟแต่ละสายจะซับซ้อนและประกอบกันเป็นโครงข่ายที่ดูยุ่งเหยิงเหมือนใยแมงมุมก็ตาม แต่ถ้าลองสังเกตดูดีๆ แล้ว จะเห็นว่าช่วงระยะห่างระหว่างสถานีนั้นใกล้กว่าที่เราคิดนะครับ ในบางกรณีถ้าเราเลือกลงรถไฟที่สถานีใหญ่ๆ ที่เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์เป็นหลักแล้วเดินไปจะง่ายกว่าและยังถึงที่หมายได้เร็วอีกด้วยครับ

รถไฟ JR (Japan Railway หรือการรถไฟญี่ปุ่น)

รถไฟ JR สายยามาโนเทะ (Yamanote Line)

 

รถไฟสายสีเขียวบนแผนผังด้านบนนี้คือรถไฟ JR สาย Yamanote Line ซึ่งเป็นสายที่ทุกท่านน่าจะได้ใช้บ่อยที่สุดครับ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่แนะนำเอาไว้ในเว็บไซต์นี้ เช่น ชินจุกุ โยโยงิ ฮาราจุกุ ชิบุยะ ชินบาชิ อุเอโนะ เป็นต้น ก็สามารถนั่งรถไฟ JR สาย Yamanote Line นี้ได้ทั้งหมดครับ

นอกจากนี้สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อย่างกินซ่าหรืออาซาคุสะ ก็สามารถนั่งรถไฟ JR สาย Yamanote Line แล้วไปลงที่สถานีใกล้ๆ จากนั้นก็สามารถเดินต่อไป หรือนั่งรถไฟใต้ดินต่อไปอีกก็สะดวกครับ

ที่โตเกียวนี้มีรถไฟมากมาย สถานีรถไฟใหญ่ๆ ที่เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์อย่างสถานีชินจุกุ สถานีโตเกียว และสถานีชิบุยะจะมีผู้คนมาใช้บริการหลายหมื่นคนต่อวัน แถมยังมีรถไฟมากมายมาจอด ภายในสถานีจึงซับซ้อนราวกับเขาวงกตเลยทีเดียวครับ

วิธีที่ง่ายที่สุดที่ใช้ดูว่ารถไฟขบวนไหนคือขบวนที่เราจะต้องขึ้น ก็คือวิธีการจำสีครับ และแผนที่ภายในสถานีก็มีส่วนที่เป็นสีเขียวบอกเอาไว้ด้วย ถ้าเราจำสีเขียวให้เป็นสัญลักษณ์เอาไว้และไปถึงชานชาลาให้ได้ก็พอครับ

ดังนั้นจำเอาไว้นะครับว่ารถไฟ JR สาย Yamanote Line คือสีเขียว นอกจากนี้ JR สาย Yamanote Line ยังได้ชื่อว่าเป็นรถไฟ  loop line คือจะวิ่งวนไปรอบๆ เป็นวงกลมครับ ขบวนที่วิ่งวนอยู่ด้านในของวงกลมจะเรียกว่า inner loop และขบวนที่วิ่งวนอยู่ด้านนอกจะเรียกว่า outer loop ภายในวงกลมจะมีสถานีทั้งหมด 29 สถานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กม. เมื่อขึ้นไปแล้วถึงเราจะไม่ลงที่สถานีไหนเลย หากนั่งไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะวนกลับมาที่สถานีเดิมครับ (ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ก็จะวนกลับมาที่สถานีเดิมได้ครับ)

รถไฟ JR สาย Chuo Line / JR สาย Sobu Line

chuosen sobusen 0001

รถไฟ 2 สายที่วิ่งตัดเส้นทางวงกลมของ JR สาย Yamanote Line คือ JR สาย Chuo Line (สายสีส้ม) และ JR สาย Sobu Line (สายสีเหลือง) ครับ ซึ่งทั้ง 2 สายนี้ส่วนใหญ่แล้วจะตัดผ่านวงกลมที่สถานีเดียวกัน ต่างกันที่หลังจากที่ผ่านสถานี Ochanomizu แล้วสาย Chuo Line จะมุ่งหน้าไปสถานีโตเกียว ส่วนสาย Sobu Line จะมุ่งหน้าไปทางสถานีอาคิฮาบาระครับ ซึ่งทั้งสถานีโตเกียวและอาคิฮาบาระต่างก็เป็นสถานีบนสาย Yamanote Line นั่นเอง

ระยะเวลาระหว่างขบวน

รถไฟสายที่วิ่งในตัวเมืองโตเกียว โดยเฉพาะรถไฟ JR สาย Yamanote Line, สาย Sobu Line, สาย Chuo Line, รถไฟใต้ดินของบริษัทเอกชน และรถไฟของเอกชนที่วิ่งอยู่ภายในเขตเมืองโตเกียวทั้ง 23 เขต จะมีรถวิ่งถี่ครับ ยิ่งช่วงชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้าและตอนค่ำ สามารถขึ้นรถไฟได้ทุกๆ 2-3 นาทีเลยทีเดียว แต่ช่วงเช้ามืดและกลางดึกจะมีรถไฟน้อยลง จึงต้องรอนานหน่อยครับ

แผนผังภายในอาคารสถานี

เมื่อเราเดินผ่านช่องตรวจตั๋วเข้ามาภายในตัวสถานีแล้ว เราจะเห็นบอร์ดแสดงแผนผังห้อยลงมาจากเพดานอย่างในภาพด้านบนนี้ครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีใหญ่ๆ ที่เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ เราอาจจะงงได้นะครับ ว่าจะต้องไปรอรถไฟที่ชานชาลาไหน

จะเห็นได้ว่าในภาพ จะมีสีบอกเอาไว้ และข้างๆ ก็จะมีตัวเลข , ชื่อของสายรถนั้นๆ , และสถานีปลายทางที่มุ่งหน้าไป ซึ่งจะเขียนเอาไว้เป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษครับ สีเขียวคือสาย Yamanote Line, สีส้มคือสาย Chuo Line, และสีเหลืองคือสาย Sobu Line ส่วนตัวเลขตัวแรกคือหมายเลขของชานชาลาครับ เมื่อรู้หมายเลขแล้วเราก็ขึ้นบันไดไปรอรถไฟที่ชานชาลานั้นๆ ได้เลย

นอกจากนี้ ถึงจะเป็นสีเดียวกันและชื่อสายรถไฟเดียวกันก็ตาม แต่ยังมีรถไฟแบ่งเป็นประเภท “local” (จอดทุกสถานี) กับประเภท “rapid” และ “express” (รถด่วน)  ซึ่งจะจอดตามสถานีต่างกันไปด้วยนะครับ ถ้าหากเราขึ้นรถไฟประเภท “rapid” แต่สถานีที่ต้องการจะไปจอดเฉพาะรถประเภท “local” เราก็ต้องลงที่สถานีก่อนจะถึงแล้วค่อยเปลี่ยนไปขึ้นรถประเภท “local” อีกต่อหนึ่งครับ

ถ้าหากไม่ทราบว่าสถานที่ที่เราต้องการจะไปนั้นมีรถ “rapid” และ “express” จอดหรือไม่ ผมแนะนำให้นั่งรถประเภท “local” เอาไว้ก่อนในกรณีที่ไม่ได้รีบร้อนอะไรนะครับ

ข้อแตกต่างของรถไฟประเภท “local” (จอดทุกสถานี) กับประเภท “rapid” และ “express” (รถด่วน)  ส่วนใหญ่แล้วก็คือจำนวนของสถานีที่รถไปจอดนั่นเอง แต่สำหรับสาย Yamanote Line มีเฉพาะรถประเภท “local” ที่จอดทุกสถานีเท่านั้นครับ

การขึ้นรถไฟใต้ดิน

รถไฟใต้ดินในโตเกียวมีทั้งหมด 13 สายด้วยกัน ในที่นี้ผมจะขอแนะนำรถไฟใต้ดินที่นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นกันเวลาเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้ได้รู้จักกันนะครับ ส่วนแผนผังเส้นทางของรถใต้ดินก็จะแตกต่างไปจากรถไฟที่วิ่งบนดิน และอาจจะเข้าใจยากสักหน่อย ควรดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาเตรียมไว้ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเอาไว้ก่อนครับ

แอพพลิเคชั่นแนะนำมีดังนี้

1) รถไฟใต้ดิน Tokyo Metro สาย Ginza Line

Ginza_subway001

KONICA MINOLTA DIGITAL CAMERA

รถไฟใต้ดินสาย Ginza Line เป็นรถไฟใต้ดินสายแรกของญี่ปุ่น เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 1927 โดยวิ่งระหว่างกินซ่าและอุเอโนะ ปัจจุบันเชื่อมต่อตั้งแต่สถานีกินซ่าไปจนถึงสถานีชิบุยะครับ ส่วนสีของตัวขบวนรถ แผนผัง และบอร์ดแสดงการต่อรถ จะใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ทั้งหมดครับ

ภายในสถานีใต้ดินจะแคบและเพดานจะเตี้ยกว่ารถไฟสายอื่นๆ นะครับ เพราะสร้างมาแล้วกว่า 90 ปี และรถไฟของสายนี้ก็เป็นรถไฟที่มีขนาดเล็กอีกด้วย

ขึ้นรถไฟสายนี้สามารถนั่งไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆ ในตัวเมืองโตเกียวได้มากมาย ทั้งอาซาคุสะ อุเอโนะ นิฮมบาชิ กินซ่า ชินบาชิ อาคาซากะ อาโอยามะ และชิบุยะ ถือเป็นรถไฟใต้ดินที่สะดวกมากจริงๆ ครับ

แผนผังเส้นทางเดินรถสาย Ginza Line

Ginza_subway002_station

รถไฟใต้ดิน Tokyo Metro สาย Marunouchi Line

marunouchi_line001

http://www.tokyometro.jp/th/index.html (ภาษาไทย)

ข้อควรระวังเวลานั่งรถไฟ

Rush Hour

ชั่วโมงเร่งด่วน

ถึงแม้ปัจจุบันนี้รถ BTS หรือ MRT ของเมืองไทย คนจะแน่นมากในบางช่วงเวลา จนบางครั้งก็อาจจะต้องยอมรอขบวนถัดไปบ้างก็ตาม แต่สำหรับที่โตเกียวระดับความแน่นของรถไฟที่นี่เรียกว่าคนละชั้นกันเลยครับ ที่เมืองไทยเวลารถไฟแน่นมักจะแน่นเฉพาะบริเวณใกล้ๆ กับประตูแต่ตรงกลางๆ จะยังมีที่ว่างอยู่ แต่ช่วงเวลาเร่งด่วนของโตเกียวภายในรถไฟทั้งขบวนจะเต็มไปด้วยผู้คนและแน่นมากๆ จนไม่มีที่ว่างเหลือเลยครับ คนอัดกันแน่นมากเกินไปจนมีบางครั้งถึงกับทำกระจกหน้าต่างแตกก็มี

นอกจากนี้ที่สถานีอินเตอร์เชนจ์หลักๆ ในตอนเช้าจะมี “เจ้าหน้าที่ดัน” ซึ่งเป็นคนที่มาทำงานพิเศษกับทางสถานีรับหน้าที่คอยช่วยดันให้คนอัดกันเข้าไปในรถไฟได้ และจะคอยยืนประจำอยู่ที่ชานชาลาครับ 

ช่วงเวลาเร่งด่วนสำหรับสายรถไฟขาเข้า (เดินทางจากชานเมืองโตเกียวเข้ามายังใจกลางเมือง) คือช่วงเช้าวันธรรมดา (ช่วงเวลา 7:00-9:00) และสำหรับขาออก (เดินทางจากใจกลางเมืองไปยังชานเมือง) คือช่วงพลบค่ำไปจนถึงกลางคืนของวันธรรมดา (ตั้งแต่เวลา 17:00-20:00) จะเป็นช่วงที่รถไฟแน่นมากที่สุดครับ และช่วงใกล้ๆ จะถึงรถไฟขบวนสุดท้ายในบางวันคนก็จะแน่นเหมือนกันครับสำหรับรถไฟบางสาย อาจจะไม่แน่นเท่ากับช่วงเช้ากับเย็นแต่ก็แน่นพอสมควรครับ

เวลาจะขึ้นรถไฟ ถ้าเป็นไปได้ผมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงช่วงชั่วโมงเร่งด่วนจะดีกว่าครับ

Women Only

ตู้รถไฟสำหรับผู้หญิง

ที่โตเกียวจะมีตู้รถไฟที่อนุญาติให้เฉพาะผู้หญิงขึ้นเท่านั้นไว้บริการในช่วงชั่งโมงเร่งด่วนของเช้าวันธรรมดาที่ต้องเดินทางไปเรียนหรือไปทำงาน เพื่อให้ผู้โดยสารที่เป็นผู้หญิงหรือเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมลงมาสามารถขึ้นรถไฟได้อย่างสบายใจ มีชื่อเรียกว่า ตู้รถไฟเฉพาะผู้หญิง (Women only) แต่ถ้าเป็นเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นตั้งแต่ประถมลงมา หรือผู้โดยสารที่เป็นผู้ทุพพลภาพกับผู้ดูแลก็สามารถใช้บริการได้เช่นกันครับ

ตู้รถไฟสำหรับผู้หญิงนี้จะมีให้บริการในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปแล้วแต่บริษัทที่ดำเนินกิจการรถไฟสายนั้นๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นช่วงตั้งแต่ รถไฟขบวนแรกจนถึงเวลา 9:00 หรือไม่ก็ช่วง 7:30-9:00 ครับ นอกเหนือจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้วจะก็เปลี่ยนเป็นตู้รถไฟธรรมดาที่ผู้ชายก็สามารถใช้บริการได้ตามปกติครับ

women_only002

เวลาจะขึ้นรถไฟสำหรับผู้หญิง ก็สังเกตได้จากสติ๊กเกอร์สีชมพูอย่างในภาพด้านบนนี้ ซึ่งจะติดอยู่ที่ตู้รถไฟและบนพื้นของชานชาลาครับ

 

 

 

Handicapped Seat

ที่นั่งสำหรับคนพิการ

ที่นั่งบางส่วนบนรถไฟหรือรถเมล์จะเป็นที่นั่งพิเศษ หรือที่เรียกว่า priority seat ครับ ที่นั่ง priority seat คือที่นั่งสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ผู้บาดเจ็บ สตรีมีครรภ์ สตรีที่เดินทางกับเด็กอ่อน หรือผู้โดยสารที่เดินทางด่วนรถเข็นโดยเฉพาะ นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆ กับที่นั่ง priority seat ยังมีการรณรงค์ของให้ผู้โดยสารท่านอื่นๆ ช่วยกันปิดโทรศัพท์มือถือ (ไม่ใช่แค่ปิดเสียงนะครับ ปิดเครื่องไปเลย) เพื่อไม่ใช้มีคลื่นรบกวนสำหรับผู้โดยสารที่ติดเครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (heart peacemaker) ด้วยนะครับ

ที่ญี่ปุ่นการคุยโทรศัพท์บนรถไฟถือเป็นการเสียมารยาทมาก หากต้องการจะพูดโทรศัพท์กรุณาลงจากรถแล้วไปหยุดคุยที่ชานชาลาของสถานี หรือที่อื่นก่อนนะครับ

ตู้ล็อคเกอร์หยอดเหรียญ

ถ้าเราต้องพกสัมภาระหรือกระเป๋าขนาดใหญ่ไปเดินทางไปไหนมาไหนด้วยก็คงเหนื่อยนะครับ ถ้าเอาไปฝากไว้ในตู้ล็อคเกอร์หยอดเหรียญที่อยู่ภายในสถานีจะทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นครับ ตู้ล็อคเกอร์หยอดเหรียญเป็นตู้ล็อคเกอร์ที่สามารถเก็บของได้โดยขึ้นค่าบริการเป็นเวลา ส่วนราคาค่าบริการก็จะแตกต่างกันไปตามสถานีและขนาดความจุของตู้ครับ แต่ตู้ขนาดเล็กแบบใหม่ล่าสุดจะอยู่ที่ประมาณ 300 เยน และขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บกระเป๋าเดินทางได้ประมาณ 700 เยนครับ

เวลาที่สามารถเก็บของเอาไว้ได้ก็จะต่างกันไปแล้วแต่สถานีครับ แต่ส่วนใหญ่แล้ว 1 วันจะคิดเวลาตั้งแต่รถไฟขบวนแรกเริ่มวิ่งไปจนถึงขบวนรถท้ายครับ และสถานีจะปิดเวลาหลังรถไฟขบวนสุดท้าย ถ้ามาเอาของไม่ทันก็ต้องมาอีกทีเช้าวันรุ่งขึ้นเวลารถไฟขบวนแรก (ประมาณ 5:30) ต้องระวังด้วยนะครับ

Please see the detail

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีอุเอโนะ

บริเวณใกล้ๆ กับสถานี JR อุเอโนะมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งสวนอุเอโนะ สระชิโนบาสึโนะอิเคะ สวนสัตว์อุเอโนะ และตลาดอาเมโยโกะ เป็นต้น จากที่นี่ถ้าเปลี่ยนรถไปขึ้นรถไฟใต้ดิน Tokyo Metro สาย Ginza Line แล้วมุ่งหน้าไปทางอาซาคุสะ ก็สามารถไปวัดเซ็นโซได้ หรือถ้ามุ่งหน้าไปทางด้านชิบุยะ ก็สามารถไปกินซ่า และโอโมเทะซันโดซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับฮาราจุกุได้อีกด้วย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีอุเอโนะ

:สาย Yamanote Line/ สาย Keihintohoku Line/ สาย Tohokuhonsen/ สาย Ueno Tokyo Line/ สาย Jyoban Line/ รถไฟชินคันเซ็นโทโฮคุ, ยามากาตะ, อาคิตะ, โจเอ็ตสึ, โฮคุริคุ

รถไฟใต้ดินที่สถานีอุเอโนะ

:รถไฟใต้ดิน Tokyo Metro สาย Ginza Line

รถไฟเอกชนอื่นๆ

:รถไฟ Keisei Line (มุ่งหน้าไปทางสนามบินนาริตะ)

รายละเอียดเกี่ยวกับสถานี JR อุเอโนะ :http://www.jreast.co.jp/e/stations/img/map_e/e204.pdf (PDF)

:http://www.jreast.co.jp/e/stations/e204.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีอากิฮาบาระ

ย่านอากิฮาบาระเป็นอาณาจักรแห่งเครื่องใช้ไฟฟ้า, การ์ตูนอานิเมะ, หุ่นประกอบจำลอง, กิจกรรมแต่งชุดคอสเพลย์, ร้านกาแฟเมดคาเฟ่ และโรงละครของนักร้องไอดอลชื่อดัง AKB48  เป็นต้น เรียกว่าเป็นแดนสวรรค์ของเหล่า “โอทาคุ” หรือผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมซับคัลเจอร์อันหลากหลายของญี่ปุ่นครับ

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีอากิฮาบาระ

:สาย Yamanote Line/ สาย Keihintohoku Line/ สาย Sobu Line

รถไฟอื่นๆ นอกเหนือจาก JR

:รถไฟใต้ดิน Tokyo Metro สาย Hibiya Line

:รถไฟ Tsukuba Express Line

รายละเอียดเกี่ยวกับสถานี JR อากิฮาบาระ :http://www.jreast.co.jp/e/stations/e41.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีโตเกียว

เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ใหญ่ที่เปรียบเสมือนประตูของโตเกียว มีจำนวนชานชาลามากที่สุดในญี่ปุ่น อาคารสถานีฝั่งประตูมารุโนะอุจิเป็นอาคารอิฐมอญสีแดงสร้างขึ้นเมื่อปี 1914 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติเมื่อปี 2003 ครับ

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีโตเกียว

:สาย Yamanote Line/ สาย Chuo Line/ สาย Keihintohoku Line/ สาย Sobuhonsen, Yokosuka Line/ Narita Express/ Ueno Tokyo Line/ สาย Tokaidohonsen/ สาย Keiyo Line

ชินคันเซ็นโทไกโด, ซันโย/ ชินคันเซ็นโทโฮคุ, ยามากาตะ, อาคิตะ, โจเอ็ตสึ, โฮคุริคุ

 รถไฟเอกชนอื่นๆ/ รถไฟใต้ดิน

http://www.jreast.co.jp/e/stations/img/map_e/e1039.pdf (PDF)

http://www.jreast.co.jp/e/stations/e1039.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีชินบาชิ

ถ้าจะเดินทางไปโอไดบะต้องมาลงที่สถานี JR ชินบาชิก่อน แล้วจึงนั่งรถยุริคาโมเมะต่อไปยังโอไดบะครับ

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีชินบาชิ

:สาย Yamanote Line/ สาย Keihintohoku Line/ สาย Yokosuka, Sobu Line/ สาย Tokaidohonsen/ Ueno Tokyo Line

http://www.jreast.co.jp/e/stations/e877.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีฮามามัตสึโจ

สถานี JR ฮามามัตสึโจ เป็นสถานีต้นสายของรถโมโนเรลที่สามารถนั่งมาจากสนามบินฮาเนดะเพื่อเดินทางเข้าเมืองได้ครับ

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีฮามามัตสึโจ

:สาย Keihintohoku Line/ สาย Yamanote Line (outer loop)

http://www.jreast.co.jp/e/stations/e1248.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีชิบุยะ

ชิบุยะเป็น 1 ใน 3 ของย่านเมืองใหม่ เทียบได้กับชินจุกุและอิเคะบุคุโระ เป็นย่านแสงสีที่มีสถานีอินเตอร์เชนจ์ใหญ่อย่างสถานี JR ชิบุยะเป็นศูนย์กลาง ย่านนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าวัยรุ่นมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้วครับ ที่นี่มีทั้งห้างสรรพสินค้า บาร์และสถานที่เที่ยวกลางคืน โรงละคร โรงหนังรวมอยู่ที่นี่ครบครัน เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมวัยรุ่น และเป็นผู้นำด้านแฟชั่นและดนตรีอีกด้วย

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีชิบุยะ

:สาย Yamanote Line/ สาย Saikyo, Shonanshinjuku Line/ Narita Express

http://www.jreast.co.jp/e/stations/img/map_e/e808.pdf (PDF)

http://www.jreast.co.jp/e/stations/e808.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีฮาราจุกุ

ถ้าพูดถึงย่านฮาราจุกุ ต้องนึกถึงถนน “ทาเคชิตะโดริ” ซึ่งสามารถเลือกซื้อน่ารักๆ เก๋ไก๋ได้ในราคาสบายกระเป๋า เป็นย่านที่โด่งดังว่าเป็นผู้นำด้านแฟชั่นของวัยรุ่นไม่แพ้ย่านชิบุยะที่อยู่ใกล้เคียงเลยครับ ถนนเมจิโดริที่ทอดยาวจากสถานีฮาราจุกุจะมีผู้คนมากมายมาเที่ยวที่นี่ในวันหยุดจนแทบไม่มีที่จะเดินทีเดียว นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าเมจิอันศักดิ์สิทธิ์ที่นี่อาณาบริเวณกว้างขวางและเงียบสงบ และถนนโอโมเทะซันโดสุดหรูที่สามารถเดินไปได้จากที่นี่ครับ

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีฮาราจุกุ

:สาย Yamanote Line

http://www.jreast.co.jp/e/stations/e1256.html

รถไฟ JR สาย Yamanote Line สถานีชินจุกุ

สถานีชินจุกุเป็นสถานีที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในโลก ( 3.58 ล้านคน/ วัน) ที่นี่เป็นย่านที่เรียกว่าเป็นหน้าเป็นตาของโตเกียว เพราะเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดโตเกียว มีทั้งที่ว่าการโตเกียว และย่านธุรกิจที่มีอาคารสำนักงานซึ่งเป็นตึกสูงระฟ้าเรียงรายกันมากมาย นอกจากนี้ยังมีย่านคาบุกิโจที่เป็นย่านกลางคืนที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เป็นแหล่งช้อปปิ้งที่มีห้างร้านต่างๆ มากมาย เมื่อเทียบกับย่านอื่นๆ แล้วชินจุกุจะมีความหลากหลายมากครับ

รถไฟ (JR) ที่สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีชินจุกุ

:สาย Yamanote Line/ สาย Saikyo, Shonanshinjuku Line/ สาย Yokosuka, Tohokuhonsen/ สาย Chuo, Sobu Line/ Narita Express/ สาย Chuohonsen, Chuo Line

http://www.jreast.co.jp/e/stations/img/map_e/e866.pdf

http://www.jreast.co.jp/e/stations/e866.html

สถานี JR หลักอื่นๆ ในโตเกียว

การขึ้นรถไฟชินคันเซ็น

รถไฟชินคันเซ็น

ชินคันเซ็นโทไกโด, ซันโย, คิวชู เป็นสายที่เชื่อมสถานีโตเกียว-สถานีชินโอซาก้า-สถานีฮาคาตะ-สถานีคาโกชิมะจูโอ ช่วงระหว่างสถานีโตเกียว-ชินโอซาก้าจะเป็นชินคันเซ็นสายโทไกโด ระหว่างชินโอซาก้า-ฮาคาตะจะเป็นชินคันเซ็นซันโย และระหว่างฮาคาตะ-คาโกชิมะจูโอจะเป็นชินคันเซ็นคิวชูครับ นอกจากนี้ยังมีชินคันเซ็นสายอื่นๆ อีก เช่น ชินคันเซ็นโจเอ็ตสึ, ชินคันเซ็นโทโฮคุ และชินคันเซ็นโฮคุริคุที่เพิ่งจะเริ่มเปิดให้บริการเมื่อไม่นานมานี้ครับ

สำหรับชินคันเซ็นสายโทไกโด ที่วิ่งระหว่างสถานีโตเกียว-ชินโอซาก้า จะมีรถไฟ 3 ประเภท คือ “โนโซมิ” “ฮิคาริ” และ “โคดามะ”

station022

รถ “โนโซมิ” เป็นรถไฟประเภทหลักของสายโทไกโด มีทั้งหมด 16 ตู้ ตู้ที่ 1-3 เป็นที่นั่งอิสระแบบไม่ต้องจองที่นั่งล่วงหน้า สถานีที่จอดคือ โตเกียว ชินากาวะ ชินโยโกฮามะ นาโกยะ เกียวโต  และชินโอซาก้า

รถ “ฮิคาริ” เป็นรถที่จะจอดสถานีที่รถโนโซมิไม่จอดครับ มีทั้งหมด 16 ตู้ ตู้ที่ 1-5 เป็นที่นั่งอิสระ สถานีที่จอด รวมสถานีที่โนโซมิจอดด้วยแล้ว จะมี โอดาวาระ, อาตามิ, มิชิมะ, ชิสุโอกะ, ฮามามัตสึ, โทโยฮาชิ, กิฟุฮาชิมะ และไมบาระ

รถ “โคดามะ” เป็นรถชินคันเซ็นที่จะจอดทุกสถานี ซึ่งจะจอดรวม 17 สถานีด้วยกัน มีทั้งหมด 16 ตู้เช่นเดียวกับโนโซมิและฮิคาริ ตู้ที่ 1-7 และ 13-15 เป็นที่นั่งอิสระ และบางครั้งอาจเป็นที่นั้งอิสระทั้งขบวน (ยกเว้นตู้พิเศษสำหรับตั๋วกรีน) ก็มีครับ

 

การซื้อตั๋ว

การซื้อตั๋วรถชินคันเซ็นไม่ได้ยากอย่างที่คิดหรอกครับ

But it's not really that hard.
But it’s not really that hard.

ตั๋วจะมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน

1) ตั๋วที่นั่งอิสระ

2) ตั๋วแบบระบุที่นั่ง

3) ตั๋วที่นั่งพิเศษ (ตั๋วกรีน)

ตั๋วแบบประเภทที่ 1) เป็นตั๋วแบบไม่ระบุที่นั่ง จึงสามารถไปซื้อที่เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติหรือที่สำนักงานจำหน่ายตั๋ว JR “มิโดริ โนะ มาโดะกุจิ” ในวันที่จะเดินทางได้เลย เวลาขึ้นรถให้ขึ้นตู้ที่เขียนว่า “unreserved seat ” นะครับ ตั๋วแบบนี้เราสามารถนั่งที่นั่งตรงไหนก็ได้ แต่ในบางช่วงรถอาจจะแน่นจนไม่มีที่นั่งก็เป็นได้ครับ ต้องระวังด้วย

ส่วนตั๋วแบบที่ 2) และ 3) ต้องจองที่นั่งก่อนล่วงหน้าครับ

ตามปกติแล้วตั๋วชินคันเซ็นจะมีขายก่อนวันเดินทาง 1 เดือน ตั้งแต่เวลา 10:00 เป็นต้นไป

วิธีการชำระเงิน นอกจากเงินสดแล้วยังสามารถชำระผ่านบัตรเครดิตได้ด้วยครับ (ซื้อที่ตู้ขายตั๋วอัตโนมัติก็สามารถใช้บัตรเครดิตได้เช่นกัน) ถึงจะไม่ได้ซื้อตั๋วเอาไว้ก่อนล่วงหน้าก็สามารถไปซื้อที่สำนักงานขายตั๋วในวันที่จะเดินทางก็ได้ แต่ในบางช่วงรถขบวนที่เราต้องการจะขึ้นอาจจะเต็มได้ครับ ยิ่งช่วงเทศกาลรถจะค่อนข้างแน่น ถ้ารู้ตารางการเดินทางก่อนล่วงหน้าก็ควรจะเตรียมตัวซื้อตั๋วเอาไว้ก่อนจะดีกว่า สามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานจำหน่ายตั๋ว JR “มิโดริ โนะ มาโดะกุจิ” หรือตู้ขายตั๋วอัตโนมัติได้ทั่วประเทศครับ หรือไม่ก็ให้บริษัททัวร์จองตั๋วให้ก็ได้ ส่วนผู้ที่มีบัตร Japan Railway Pass  สามารถไปจองที่นั่งที่สำนักงานจำหน่ายตั๋ว JR “มิโดริ โนะ มาโดะกุจิ” โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ

*สามารถจองที่นั่งได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตครับ แต่ต้องลงทะเบียนสมาชิก (ฟรี) ก่อน แถมเว็บไซต์ยังมีเฉพาะภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย ผมคิดว่าจองตั๋วโดยวิธีอื่นน่าจะดีกว่าครับ จองตั๋วผ่านเว็บไซต์ :えきねっと

เวลาซื้อตั๋ว เราจะได้ตั๋วมา 2 ใบ คือ “ตั๋วโดยสาร” กับ “ตั๋วรถด่วนชินคันเซ็น” เวลาจะผ่านเครื่องตรวจตั๋วเพื่อเข้าไปยังชานชาลาต้องสอดตั๋วทั้ง 2 ใบนะครับ

ข้อแตกต่างระหว่างที่นั่ง unreserved seat กับที่นั่ง reserved seat

ข้อแตกต่างของที่นั่งอิสระ (unreserved seat) กับที่นั่งแบบระบุที่นั่ง (reserved seat) คือ มีการจองที่นั่งเอาไว้ล่วงหน้าหรือไม่ (ยกเว้นชินคันเซ็นซันโย/ คิวชุ) เรียกว่าเป็นการรับประกันว่าจะได้นั่งหรือไม่ได้นั่งเท่านั้นเอง ยิ่งถ้าเป็นคันเซ็นสายโทไกได (จากโตเกียวถึงชินโอซาก้า) เบาะที่นั่งจะเหมือนกันทุกประการครับ

ช่วงเทศกาลที่คนจะแน่นมาก คือช่วงสิ้นปีและปีใหม่ (ปลายเดือนธ.ค. ถึงต้นเดือนม.ค.) หรือช่วงวันหยุดยาวโกลเด้นวีค (ปลายเดือนเม.ษ. ถึงต้นเดือน พ.ค.) เทศกาลโอบง (กลางเดือนส.ค.) ถ้าจะต้องขึ้นรถชินคันเซ็นในช่วงนี้ควรรีบจองที่นั่งเอาไว้ก่อนล่วงหน้าครับ เพราะมีโอกาสที่จะไม่ได้นั่งสูงมากจริงๆ

ส่วนช่วงอื่นๆ ที่ไม่ใช่เทศกาล ในวันธรรมดาโดยเฉพาะวันศุกร์ช่วงค่ำจะแน่นครับ แต่สำหรับสายโทไกโด (โตเกียว-ชินโอซาก้า) ผมคิดว่าถ้าไม่มีเหตุผิดปกติอะไรก็น่าจะได้นั่งครับ

รถชินคันเซ็นที่ออกจากสถานีโตเกียวจะมีทุกๆ 15 นาที ถ้ารถขบวนที่ตั้งใจจะขึ้นมีคนรอคิวยาวมาก ก็ไม่ต้องฝืนขึ้นก็ได้ครับ รอขบวนต่อไปดีกว่า

นอกจากนี้ที่นั่ง unreserved seat ของรถ”โคดามะ” จะอยู่ที่ตู้ 1-7 และ 13-15 เรียกว่าเยอะมาก และเป็นรถที่จอดทุกสถานี สำหรับคนที่เดินทางเป็นระยะทางไกลๆ จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมครับ ดังนั้นเมื่อเทียบกับ “โนโซมิ” และ “ฮิคาริ” แล้วเปอร์เซ็นต์ที่จะมีที่นั่งว่างจะค่อนข้างสูงครับ

และกรณีที่นั่งจากโตเกียวไปชินโอซาก้าโดยชินคันเซ็นโทไกโด ถ้านั่งฝั่งขวามือของด้านที่รถวิ่งเราจะเห็นภูเขาฟูจิระหว่างทางในวันที่อากาศดีๆ ด้วยนะครับ

コメントを残す